กุญแจเปิดประตูสู่ความสำเร็จ การงาน การเงิน และการใช้ชีวิต
เทคนิคการเจรจาต่อรองให้ประสบความสำเร็จ
การเจรจาต่อรองนั้นไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับลูกค้า หรือแม้แต่บุคลากรในหน่วยงานเดียวกันต้อง
มีเทคนิคที่ดี เพื่อให้การเจรจานำไปสู่ข้อตกลงที่พึงพอใจกันทั้งสองฝ่ายจึงจะถือว่าการเจรจาต่อรองนั้น
ประสบความสำเร็จ โดยมีเทคนิคในการเจรจาต่อรองดังนี้
- เก็บข้อมูลของอีกฝ่าย และวางแผนการเจรจาต่อรอง ต้องศึกษาข้อมูล และประเมินของ
ฝ่ายตรงข้ามว่าเขาต้องการอะไร เพื่อที่คุณจะสามารถวางแผนยื่นข้อเสนอได้อย่างเหมาะสม
เพราะหากคุณยื่นข้อเสนอ ที่เขาไม่สนใจ การเจรจานั้นย่อมไม่เกิดข้อตกลงที่น่าพึงพอใจอย่างแน่นอน - เตรียมฝึกการพูด วางแผนกลวิธีการโน้มน้าวใจ ควรฝึกพูด
ให้คล่อง เตรียมข้อมูลให้แม่นยำ น่าเชื่อถือ วางแผนให้ดีว่าคำถาม
ที่คาดว่าจะถูกถามมีอะไรบ้าง รวมทั้งฝึกตอบคำถามเหล่านั้น
อย่างฉะฉาน - นำเสนอประโยชน์ที่เขาจะได้รับ แต่ไม่อวดอ้างเกินจริง ไม่ควรเอาแต่พูดถึงประโยชน์ของตนเอง แต่ควรบอกให้อีกฝ่ายทราบ
ถึงประโยชน์และผลดีที่เขาจะได้รับเพื่อเป็นการโน้มน้าวใจ โดยที่
ประโยชน์นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานความจริง ไม่โกหกหลอกลวง
หรือกล่าวอ้างเกินจริง - แสดงเงื่อนไขที่แตกต่าง การกระตุ้นให้การเจรจาต่อรองประสบ
ความสำเร็จนั้น ต้องแสดงเงื่อนไขที่แตกต่าง ให้เห็นว่าข้อเสนอ
ของคุณมีความโดดเด่น และให้ประโยชน์กับอีกฝ่ายได้มากกว่า
คนอื่น ๆ - สร้างความน่าเชื่อถือ แสดงข้อมูลให้มาก หากรู้ตัวว่าตกเป็นรอง
ต้องพยายามแสดงข้อมูลให้มาก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และใช้
เทคนิคการพูดเพื่อโน้มน้าวเขาให้ได้ แต่หากฝ่ายคุณเหนือกว่า
ก็ไม่ควรรุกเร้า กดดัน หรือเอาเปรียบเขาจนเกินไป - ปรับกลยุทธ์ได้ทุกเมื่อ การต่อรองที่ดีต้องรู้จักปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
ได้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้คุณตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โดยใช้ไหวพริบ
และปฏิภาณของคุณ รวมทั้งการมีอารมณ์ขันก็สามารถพลิก
สถานการณ์ได้ - สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน การวางตัวของคุณจะต้องมีความสุภาพ
และถ่อมตน จะทำให้การเจรจานั้นราบรื่นกว่าการ แสดงตนเหนือกว่า
และโอ้อวดตนเอง แต่ก็ไม่ควรถ่อมตนมากเกินจนดูต่ำต้อย
และเสียเปรียบในการเจราจาต่อรอง - ไม่ยกประโยชน์ให้อีกฝ่ายง่ายเกินไป ต้องมีจุดยืนในการเจรจาต่อรอง ไม่ให้เขารู้สึกว่าคุณอยากตกลงกับเขา
จนยอมทุกอย่างโดยง่ายดาย ต้องรู้จักแสดงท่าทีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายคุณไว้ด้วย - กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง ถ้าคุณไม่กล้าปฏิเสธ คุณจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที ดังนั้นคุณต้องกล้าปฏิเสธ
กล้าบอกว่าขอคิดดูก่อน และกล้าเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการด้วย เมื่อคุณยังไม่พึงพอใจในการเจรจาก็ยังไม่จำเป็น
ต้องรีบตกลง - หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย หากรู้แน่ชัดว่า เขาไม่ตกลงกับคุณแน่แล้ว ต้องกล้าพอที่จะยกเลิก
การเจรจานั้นทันที ให้โอกาสอีกฝ่ายได้พักหายใจสักระยะ แล้วค่อยติดต่อเข้าไปใหม่ โดยไม่กระชั้นเกินไป
และไม่ห่างหายนานเกินไปจนอีกฝ่ายจำข้อมูลที่คุยกันไม่ได้
ไม่ว่าผลการเจรจาต่อรองจะเป็นอย่างไร ขอให้ทำทุกอย่างให้จบลงด้วยดี เพราะในการทำงาน และการทำธุรกิจ
คุณกับเขาอาจมีโอกาสต้องติดต่อประสานงานกันอีกในวันข้างหน้า
credit: Jobdb.com
Print article | This entry was posted by admin on February 15, 2013 at 8:44 pm, and is filed under พัฒนาตัวเอง. Follow any responses to this post through RSS 2.0. Both comments and pings are currently closed. |
Comments are closed.